สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลกจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละต้น
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละต้น เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สามแยกเรือนแพ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยมีว่าที่ ร.ต.ทรงศักดิ์ ภูมิฐานนท์ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละต้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสครบรอบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 โดยมีเทศบาลนครพิษณุโลก สโมสรไลออนส์สากล ภาค 310C สมาคมศิลปะการพูดพิษณุโลก สโมสรโรตารีพิษณุโลก สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภาคีเครือข่ายท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก สื่อมวลชนในจังหวัดพิษณุโลก ขบวนการสหกรณ์ในจังหวัดพิษณุโลกและหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม
ว่าที่ ร.ต.ทรงศักดิ์ ภูมิฐานนท์ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละต้น เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 เพื่อสนองแนว พระราชดำริ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ปลูกไม้ผลยืนต้นสำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะ โลกร้อน สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นไม้ร่วมกัน
สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวอีกว่า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละต้น เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี พระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เพื่อแสดงความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าว สำหรับไม้ผลที่นำมาปลูกในโครงการฯ มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ ต้นหว้า ต้นสมอไทย ต้นมะเฟือง ต้นมะขามป้อม ต้นหม่อน และต้นจัน จำนวนทั้งสิ้น 454 ต้น เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ขบวนการสหกรณ์ในจังหวัดพิษณุโลก และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ สู่สังคม โดยมีแนวทางที่จะส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์อย่าง ต่อเนื่อง สามารถขยายผลสู่ชุมชน ตำบลต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการและทำกิจกรรมการปลูกไม้ผลยืนต้นในพื้นที่ของตนเองไว้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตที่พักอาศัยและชุมชน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป.